วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

MODULE 2 เครื่องมือของที่ปรึกษาการเงิน (เครื่องคิดเลขทางการเงิน)


สวัสดีครับ เพื่อนๆ พี่น้อง วันนี้เรามาเรียนรู้ เกี่ยวกับการคำนวณหามูลค่าเงินตามเวลา ซึ่งมีคนจำนวนมากที่สงสัยและอยากรู้ ว่าจำนวนเงินที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ในอนาคต หรือ อดีต มันคิดออกมาอย่างไร
            โดยใช้ application เครื่องคิดเลขทางการเงิน ครับ
             ถ้าเครื่อง samsung ระบบ android ก็เข้า play store ค้นหา financial cal เลือก TVM
             
ถ้าเครื่อง iphone หรือ ipad ก็เข้า app store ค้นหา EZ เลือก EZ calculators แต่หน้าตาอันเดียวกัน





ลือก TVM นะครับ
ย่อมาจาก Time Value Money หรือมูลค่าเงินตามเวลา เรามาดูวิธีใช้กันครับ 
จะเห็นช่องให้เติมค่าอยู่ 5 ช่องนะครับ ด้านขวามือเอาไว้ให้กดคำนวณ
PV  หรือ มูลค่าปัจจุบัน แต่ผมจะเรียกว่า ต้นทาง
PMT หรือ มูลค่าการจ่ายเงินเป็นงวด แต่ผมจะเรียกว่า ระหว่างทาง
FV หรือมูลค่าเงินอนาคต แต่ผมจะเรียกว่า ปลายทาง
Rate หรืออัตราดอกเบี้ย อัตราเพิ่ม เงินเฟ้อ 
Periods หรือ จำนวนเวลา เป็นปี
Compounding Monthly คิดเป็นเดือน เราก็แก้ใหม่เป็น รายปี Annually




ถึงตอนนี้เรามาเริ่มคำนวณกันเลยครับ
ใส่เงินต้นทาง PV 100,000 
Rate อัตราดอกเบี้ยธนาคาร หักภาษีแล้ว  1.7
ระยะเวลา Periods 10 ปี
เสร็จแล้วก็กด หามูลค่าเงินที่จะได้รับทั้งสิ้น กด FV 
ผลลัพท์คือ -118,361.25 บาท
ทำไมเป็นลบ เราต้องมาเปลี่ยน PV ให้เป็นลบก่อน เพราะเงินจ่ายฝากเข้าแบงค์ จ่ายคือ ลบ




คราวนี้เรามาลองใส่อัตราดอกเบี้ย พันธบัตร หรือ หุ้นกู้ ดูนะครับ ผลตอบแทน 3.4 %ต่อปี แล้วกด FV



หรือจะคำนวณหา ผลตอบแทนของกองทุนรวมหุ้น ที่ให้ผลตอบแทน 8% แล้วกด FV จะได้เงินปลายทาง 215,892.50 บาท 
เป็นนัยยะสำคัญว่า คุณสามารถเรียนรู้การ  Clonning เงินของคุณได้ว่าเงินของคุณหนึ่งก้อน  100,000 บาท จะกลายเป็น 2 เท่า หรือเงิน 100,000 อีกหนึ่งก้อนในเวลา 10 ปี ถ้าได้อัตราดอกเบี้ยทบต้นอัตรา 8% ครับ 
ลงไว้ 1,000,000 ก็จะได้เงิน 2,000,000 บาท 
ถ้าผลตอบแทน 13% ก็จะใช้เวลา เพียง 6 ปี เท่านั้น 
เงิน 1,000,000 จะกลายเป็น 2,000,000 
และปล่อยไปอีก 3 ปี รวมเป็น 9 ปี เงินจะโคลนนิ่งตัวเอง เป็นเงินล้านอีกหนึ่งก้อน 
รวมเป็น 3,000,000 บาท







นี่คือพลังของอัตราดอกเบี้ยทบต้น The Power of Compound Interest Rate ที่คนรวยรู้ แต่คนทั่วไปไม่รู้ และนี่คือเรื่องของ PASSIVE INCOME หรือให้เงินช่วยทำงาน ไม่ใช่เอาแต่แรงเราทำงานแลกเงิน
เรื่องนี้เป็นเรื่องมีมานาน แต่ไม่มีใครอยากเปิดเผย ถ้าคุณสนใจวิธีการมากมายที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินทั้งของตนเองและญาติพี่น้อง  ต้องมาเรียนรู้วิธีเป็นที่ปรึกษาการเงิน ผมยินดีให้คำปรึกษาครับ

การคำนวณหา มูลค่าความสามารถของมนุษย์
นาย ก มีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท ปีละ 600,000 บาท เงินเดือนเพิ่มปีละ 3% เหลือเวลาทำงานที่จะมีรายได้อีก 10 ปี ค่าความสามารถของนาย ก คือ



มูลค่าความสามารถของนาย ก คือ  6,878,327 บาท
แล้วนาย ก ควรมีประกันชีวิต เท่าไร




นาย ก ควรมีประกันชีวิต 5,271,665 บาท..ประกันชีวิต คิดคำนวณเงินต้นทาง คือ PV

                             การหามูลค่าเงินในอนาคต


ก๋วยเตี๋ยวแถวบ้านเราตอนนี้ราคาชามละ 40 บาท เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เราเคยกินชามละ 15 บาท แสดงว่าเงินเฟ้อมันเพิ่มขึ้นอัตรา 5.02%   อีก 1 ปีข้างหน้า เครื่องมันคำนวณได้ เป็นชามละ 42 บาท แล้วอีก 20 ปีข้างหน้า เราจะได้กินก๋วยเตี๋ยวชามละเท่าไร คำตอบคือ 106 บาท หรือ กลมๆ 100 บาท ค่อนข้างแน่นอน




                      แล้วถ้าตอนนี้ลูกเราอายุ 3 ขวบ
อยากรู้ว่าตอนเขาอายุ 18 ปีที่จะเข้าเรียน ปริญญาตรี เขาต้องใช้เงินปีละเท่าไร (ปีนี้คนที่เข้าเรียน ปริญญาตรีใช้เงิน เดือนละ 10,000 บาท ปีละ 120,000 )

อีก 15 ปีลูกเราจะเข้าเรียน จะต้องใช้เงินปีละ 250,185 บาท



อีก 15 ปีลูกเราจะเข้าเรียน จะต้องใช้เงินปีละ 250,185 บาท 4 ปี ก็ประมาณ 1,000,000 บาท
แต่ถ้าจะเข้าเรียนปริญญาโทด้วยอีก 2 ปี (ปัจจุบันเขาเรียนกัน ค่าใช้จ่ายเดือนละ 20,000 ปีละ 240,000 จะเข้าเรียนในอีก 19 ปีข้างหน้า เขาจะใช้เงินเรียนปีละ 


อีก 19 ปีข้างหน้า เรียนปริญญาโท เขาจะใช้เงินเรียนปีละ 608,666 บาท หรือ กลมๆ 600,000 บาท เรียน 2 ปี ก็รวมเป็นเงิน 1,200,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาลูก ปริญญาตรี   1,000,000 บาท
                                             ปริญญาโท    1,200,000 บาท
                                              รวม             2,200,000  บาท
     เตรียมก็ได้ใช้ ไม่เตรียมก็ได้ใช้ เตรียมกับไม่เตรียม อย่างไหนดีกว่ากัน 

สำหรับกองทุนเกษียณอายุ
ก็เช่นเดียวกัน ตอนนี้อายุ 35 ต้องการใช้เงินเกษียณพอเพียง ปัจจุบัน เดือนละ 20,000 ปีละ 240,000 บาท เมื่อคำนวณไปในอนาคตแล้ว เงิน 240,000 บาทเทียบกับราคาก๋วยเตี๋ยวที่จะเพิ่มขึ้น เท่ากันกับเงิน ปีละ 818,550 บาท คือเงินก้อนเดียวกัน



ถ้าใช้ปีละ 818,550 บาท ใช้อยู่ 20 ปี ก็เป็นเงิน 16,371,000 บาท
16,371,000 บาท ไม่ผิดครับ
แต่ถ้าเงิน 16ล้านที่เป็นเงินรวมนั้น มีดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย ดังนั้นเราต้อง Adjust ผลตอบแทนหลังเกษียณให้มีเสถียรภาพ คือพยายามเอาชนะเงินเฟ้อให้ได้นิดหน่อย เช่นถ้าเงินเฟ้อ 5.03 ผลตอบแทนก็ไม่ควรเสี่ยงเกิน 6.50
สูครการ adjust = ผลตอบแทน-เงินเฟ้อ/1.0เฟ้อ
ดังนั้นผลตอบแทนที่เสถียรคือ 1.4693%



ตอนเกษียณต้องมีเงินก้อนแค่ 14,303,124 บาทก็พอและถอนพอใช้ไปถึงอายุ 80 ครับ
           แล้วเงิน 14ล้าน มันเยอะมาก จะหาจากไหน ......?
เราก็เอาทรัพย์สินที่เรามีอยู่มาหักออกก่อน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข บำนาญ ประกันบำนาญ ประกันสะสมทรัพย์ กองทุนรวม หุ้น สหกรณ์ (สำหรับคนที่มี)
แต่ก่อนหัก ต้องคิดผลตอบแทนให้จากต้นทางที่ทรัพย์สินเขาเคยมีก่อน 
อ้าว แล้วแต่ละตัวคิดยังไง.....?
ก็คิดตามแบบที่คิดข้างบนไง 
ถ้าคิดไม่ออก รอติดตามใน Module ต่อไป เรื่องยากจะกลายเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่ คลิกเดียว

ว่าแต่คุณ จะอดทนเพื่ออ่านต่อ หรือจะถอย ถ้าถอยก็สามารถกดยกเลิกการรับข่าวสารนี้โดยจดหมายจะไม่ส่งมารบกวนคุณอีก
แต่ถ้าคิดว่าพอมีประโยชน์กรุณากดแชร์ กดไลค์ กดG+ ตามที่เห็นสมควร
ฉบับหน้ายิ่งจะเข้มข้น สำหรับที่ปรึกษาการเงินตัวจริง เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง
และขอแนะนำให้เข้าเรียนหลักสูตร starter couse ด้วยนะครับ  

แด่ความสำเร็จของคุณ

จาก ชยพล ฐิติศุภสิน

พร้อมที่จะเป็นโคชให้คุณ
081-2092371
email: 42group.ct@gmail.com